1. วิธีระบบ หมายถึงอะไร
ตอบ ...."วิธีระบบ เป็นวิธีการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งเป็นอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบอย่างเหมาะสมและสร้างสรรค์ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ความสำคัญของวิธีระบบวิธีระบบกลายเป็นแกนแนวคิดเทคโนโลยีการศึกษาทางพฤติกรรมศาสตร์ และกลายเป็นคำหลักของเทคโนโลยีการศึกษา การฝึกอบรมและการให้การศึกษา เน้นไปที่ผู้ออกแบบและจัดโปรแกรมควบคู่ไปกับการผลิตช่างเทคนิค เพื่อให้ได้นักเทคโนโลยีการศึกษาที่มองภาพการใช้เทคโนโลยีการศึกษาที่มีระบบและมองภาพกว้างขวางขึ้น
2. องค์ประกอบที่สำคัญของวิธีระบบได้แก่อะไรบ้าง
ตอบ 1. ข้อมูลป้อนเข้า(input) ได้แก่ วัตถุดิบ ข้อมูลดิบ ปัญหาความต้องการวัตถุประสงค์ ข้อกำหนดกฎเกณฑ์
2. กระบวนการ(process) ได้แก่ วิธีการปฏิบัติงานอย่างเป็นขั้นตอน
3. ผลลัพธ์ (output) ได้แก่ ผลงานที่ได้จากการป้อนข้อมูลและกระบวนการเพื่อที่จะนำไปประเมินผล
4. ข้อมูลย้อนกลับ(feedback) ผลการประเมินการทำงานของระบบ ซึ่งประเมินย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนขั้นตอนการจัดระบบ1. ขั้นวิเคราะห์ระบบ(system analysis) แบ่งออกเป็น 4 หน่วยย่อย
1.1 วิเคราะห์แนวทางการปฏิบัติ เป็นการพิจารณาทิศทางที่จะดำเนินการและจุดมุ่งหมายของระบบ เพื่อบรรลุตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
1.2 วิเคราะห์หน้าที่ เป็นการกำหนดหน้าที่โดยละเอียดตามที่กำหนดไว้
1.3 วิเคราะห์งาน เป็นการกำหนดสิ่งที่ต้องการกระทำตามหน้าที่ที่ได้กำหนดไว้
1.4 วิเคราะห์วิธีการและสื่อ เป็นการกำหนดหลักการปฏิบัติที่นำไปสู่จุดมุ่งหมาย
3. ขั้นตอนในการจัดระบบประกอบด้วยอะไรบ้าง
ตอบ จากความหมายของการจัดระบบ และองค์ประกอบของระบบนั้น สามารถนำมาจัดเป็น ขั้นตอนของการจัดระบบ โดยแบ่งเป็น 4 ขั้น ดังนี้
ขั้นที่ 1 วิเคราะห์ระบบ (System Analysis) เป็นการสำรวจ แจกแจงและวิเคราะห์ปัญหา เพื่อนำข้อมูลต่างๆ เหล่านั้นมากำหนดวัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวได้ ลำดับต่อมาวิเคราะห์และกำหนดภาระหน้าที่ต่างๆ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ และวิเคราะห์งานที่ต้องปฏิบัติให้เหมาะสมกับหน้าที่ โดยแบ่งเป็น 4 ประการคือ
1) วิเคราะห์แนวการปฏิบัติงาน คือ การพิจารณาแนวทางการดำเนินงาน เพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมาย กำหนดแนวทางในการปฏิบัติงาน รวมถึงปัญหาอุปสรรค ข้อบกพร่องต่างๆ
2) วิเคราะห์หน้าที่ (Function Analysis) เป็นการกำหนดหน้าที่ต่างๆ โดยละเอียด เพื่อสะดวกต่อผู้ปฏิบัติหน้าที่ของตนได้อย่างครบถ้วน
3) วิเคราะห์งาน (Task Analysis) เป็นการกำหนด แยกแยะรายละเอียดในหน้าที่
4) การวิเคราะห์วิธีการและตัวเลข (Methods and Mean Analysis) เป็นการกำหนดหลักการ หรือตัวกลางที่จะนำไปสู่จุดมุ่งหมาย
เมื่อเราวิเคราะห์ระบบแล้วก็จะได้ข้อมูลต่างๆ ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว ที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว เพื่อนำไปใช้ในการแก้ปัญหา และดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น
ขั้นที่2 สังเคราะห์ระบบ เป็นวิธีการที่นำข้อมูลที่ได้ วิเคราะห์ จัดองค์การต่างๆให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการเลือกวิธีการที่จะนำไปใช้ นิยมเขียนในรูป
ขั้นที่ 3 สร้างแบบจำลองระบบ เป็นวิธีการที่นำเสนอระบบที่จะสะดวกต่อการนำไปใช้ นิยมเขีย
ขั้นที่ 4 ทดสอบระบบในสถานการณ์จำลอง เป็นการทดลองนำแบบจำลองระบบไปใช้ในสถานการณ์จำลองที่สร้างขึ้น หากสามารถนำไปแก้ปัญหาได้ หรือต้องการมีการปรับปรุงแล้วนำไปแก้ไขปรับปรุงส่วนที่บกพร่อง หากสามารถนำไปใช้ในสถานการณ์จำลองได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ระบบนั้น ก็สามารถไปใช้ในสถานการณ์จริงได้
4. วิธีระบบมีประโยชน์ต่อการเรียนการสอนอย่างไร
ตอบ การดำเนินงานการสอนครูผู้สอนจะต้องมีการวางแผนการสอนและตั้งวัตถุประสงค์ของการเรียนนั้นให้ดีเสียก่อนเพื่อเป็นข้อมูลในการจัดการสอน ตลอดจนเตรียมเนื้อหาบทเรียนและวิธีการสอนเพื่อที่จะดำเนินการให้ได้ผลลัพธ์ คือ การที่ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ถ้าหากว่าการเรียนการสอนนั้นไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่ควรจะเป็น โดยอาจจะมีปัญหาในการสอนหรือการที่ผู้เรียนไม่สามารถเกิดการเรียนรู้ได้ดีเท่าที่ควรก็จำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาและหาทางแก้ไขข้อบกพร่องที่เกิดขึ้นให้ได้ผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การจัดระบบการสอนจะมีความหมายสำคัญ 2 ประการ ซึ่งนำไปสู่การวางแผนการสอนและการนำแผนนั้นไปใช้
5. จงยกตัวอย่างและอภิปรายแบบจำลองการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ
ตอบ 1 การกำหนดวัตถุประสงค์ (specification of objectives) ระบบการสอนนี้ เริ่มต้นการสอนด้วยการกำหนดวัตถุประสงค์ของการเรียนขึ้นมาก่อน โดยควรจะเป็นวัตถุประสงค์เฉพาะ หรือ "วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม" ที่ผู้เรียนสามารถปฏิบัติและผู้สอนสามารถวัดหรือสังเกตได้
2 การกำหนดเนื้อหา (specification of content) เป็นการเลือกเนื้อหาที่เหมาะสม เพื่อกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ และบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่ตั้งไว้
3 การประเมินผลพฤติกรรมเบื้องต้น (assessment of entry behaviors) เป็นการประเมินผลก่อนการเรียน เพื่อให้ทราบถึงพฤติกรรม และภูมิหลังของผู้เรียนก่อนที่จะเรียนเนื้อหานั้น ๆ ว่าผู้เรียนมีความรู้ความสามารถในเรื่องที่จะสอนนั้นมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการที่จะจัดการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสม
4 การกำหนดกลยุทธของวิธีการสอน (determination of strategy) การกำหนดกลยุทธเป็นวิธีการของผู้สอนในการใช้ความรู้เรื่องราว เลือกทรัพยากร และกำหนดบทบาทของผู้เรียนในการเรียน ซึ่งเป็นแนวทางเฉพาะเพื่อช่วยให้สามารถบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของการเรียนการสอน วิธีการสอนตามกลยุทธ์นี้แบ่งได้เป็น 2 แบบ
1) การสอนแบบเตรียมเนื้อหาความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยสมบูรณ์ทั้งหมด (expository approech) เป็นการสอนที่ผู้สอนป้อนความรู้ให้แก่ผู้เรียนโดยการใช้สื่อต่าง ๆ และจากประสบการณ์ของผู้สอน การสอนแบบนี้ได้แก่ การสอนแบบบรรยายหรืออภิปราย ซึ่งผู้เรียนไม่จำเป็นต้องค้นคว้าหาความรู้ใหม่ด้วยตนเองแต่อย่างใด
2) การสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (discovery หรือ inquiry approach) เป็นการสอนที่ผู้สอนมีบทบาทเพียงเป็นผู้เตรียมสื่อ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในการเรียน เป็นการจัดสภาพการณ์เพื่อให้การเรียนรู้บรรลุจุดมุ่งหมาย โดยที่ผู้เรียนต้องค้นคว้าหาความรู้เอาเอง
5 การจัดแบ่งกลุ่มผู้เรียน (organization of groups) เป็นการจัดกลุ่มผู้เรียนให้เหมาะสมกับวิธีสอน และเพื่อให้ได้เรียนรู้ร่วมกันอย่างเหมาะสม การจัดกลุ่มจะต้องพิจารณาจากวัตถุประสงค์ เนื้อหา และวิธีการสอนด้วย
6 การกำหนดเวลาเรียน (allocation of time) การกำหนดเวลา หรือการใช้เวลาในการเรียนการสอน จะขึ้นอยู่กับเนื้อหาที่จะเรียน วัตถุประสงค์ สถานที่ และความสนใจของผู้เรียน
7 การจัดสถานที่เรียน (alloction of space) การจัดสถานที่เรียนจะขึ้นอยู่กับขนาดของกลุ่มผู้เรียน แต่ในบางครั้งสถานที่เรียนแต่ละแห่งอาจจะไม่เหมาะสมกับวิธีการสอนแต่ละอย่าง ดังนั้นจึงควรมีสถานที่หรือห้องเรียนในลักษณะต่างกัน 3 ขนาด คือ 1 ห้องเรียนขนาดใหญ่ สามารถสอนได้ครั้งละ 50-300 คน 2 ห้องเรียนขนาดเล็ก เพื่อใช้การเรียนการสอนแบบกลุ่มย่อย หรือการจัดกลุ่มย่อย หรือการจัดกลุ่มสัมมนาหรืออภิปราย 3 ห้องเรียนแบบเสรีหรืออิสระ เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนตามลำพัง ซึ่งอาจเป็นห้องศูนย์สื่อการสอนที่มีคูหาเรียนรายบุคคล
8 การเลือกสรรทรัพยากร (allocation of resources) เป็นการที่ผู้สอนเลือกสื่อการสอนที่เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการสอน และขนาดของกลุ่มผู้เรียนเพื่อให้การสอนบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ การเลือกใช้ทรัพยากรหรือสื่อการสอนสามารถแบ่งได้ 5 ประเภท คือ
1 สื่อบุคคลและของจริง หมายถึง ผู้สอน ผู้ช่วยสอน วิทยากรพิเศษ หรือของจริงต่าง ๆ เพื่อช่วยในการประกอบการสอน เป็นต้น
2 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องฉาย เช่น วีดิทัศน์ แผ่นโปร่งใส่ สไลด์ ฟิล็มสตริป ฯลฯ
3 วัสดุและอุปกรณ์เครื่องเสียง เช่น วิทยุ เครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ
4 สิ่งพิมพ์ เช่น หนังสือ วารสาร รูปภาพ ฯลฯ
5 วัสดุที่ใช้แสดง เช่น แผนที่ ลูกโลก ของจำลองต่าง ๆ ฯลฯ
9 การประเมิน (evaluation of performance) หมายถึง การประเมินผลพฤติกรรมของผู้เรียน อันเกิดจากกระบวนการปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกันเองระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับสื่อการสอน การประเมินผลการเรียนเป็นสิ่งสำคัญมากในการเรียน และเป็นกระบวนการขั้นสุดท้ายของระบบการสอนที่ยึดเอาวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้เป็นหลักในการดำเนินงาน
10 การวิเคราะห์ข้อมูลย้อนกลับ (analysis of feedback) เมื่อขั้นตอนของการประเมินผลเสร็จสิ้นลงแล้ว ก็จะทำให้ทราบได้ว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตั้งไว้มากน้อยเพียงใด ถ้าผลที่เกิดขึ้นนั้นไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก็ต้องทำการวิเคราะห์ผลหรือย้อนกลับมาพิจารณาว่า ในการดำเนินงานตั้งแต่ต้นนั้นมีข้อบกพร่องอะไรบ้างในระบบ หรือมีปัญหาประการใดบ้าง ทั้งนี้เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขระบบการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น องค์ประกอบการสอนด้วยวิธีระบบของเกอร์ลาซ-อีลี (Gerlach-Ely) ซึ่งประหยัด จิระวรพงศ์ (2520 : 22-23) ได้จัดการแบ่งวิธีระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี ออกเป็น 5 ส่วน คือ
1) เนื้อหา เป้าประสงค์ ต่างมีความสำคัญและสำพันธ์กัน โดยเฉพาะเป้าประสงค์ที่เป็นพฤติกรรม ซึ่งสามารถวัดได้เหมาะกับเนื้อหา และเนื้อหาที่สอดคล้องกับสภาพสังคม เศรษฐกิจ และความสามารถในการนำไปใช้ต่อผู้เรียน
2) ก่อนที่จะทำการสอนต้องคำนึงถึงพื้นฐาน ความสามารถและความต้องการของผู้เรียนของแต่ละคน แต่ละกลุ่ม เพื่อจัดลำดับชั้นการเรียนให้เหมาะสมตามผู้เรียน
3) ขั้นการสอน ผู้สอนต้องพิจารณาวิธีการและส่วนประกอบ อันเป็นปัจจัยส่งเสริมการเรียนในทุกด้าน เพื่อให้ผู้เรียนและผู้สอนดำเนินการไปโดยบรรลุผลเร็วที่สุด
4) ในการทำผลลัพธ์ต้องใช้วิธีการวัดผลและประเมินผลที่เป็นไปตามเป้าหมาย
5) เป็นการวิเคราะห์ และปรับปรุงข้อบกพร่องต่าง ๆ ของการเรียนการสอน จะเห็นได้ว่าวิธีระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี เป็นที่นิยมนำมาใช้ในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก ซึ่งนักเทคโนโลยีการศึกษาหลายท่านนำมาใช้ และนำมาวิเคราะห์ระบบด้วยโมเดลของเกอร์ลาซ-อีลี
6. จงอธิบายขั้นตอนการผลิตสื่อการสอนอย่างเป็นระบบ
ตอบ 1. กำหนดหมวดหมู่เนื่อหาและประสบการณ์
2. กำหนดหน่วยย่อยการสอน
3. กำหนดหัวเรื่อง
4. กำหนดมโนทัศน์และหลักการ
5. กำหนดกิจกรรมการเรียน
6. กำหนดกิจกรรมการเรียน
7. กำหนดแบบประเมิน
8. เลือกและผลิตสื่อการสอน
9. หาประสิทธิภาพชุดการสอน
10. การใช้ชุดการสอน
7. จงแสดงขั้นตอนการใช้สื่อการสอนอย่างเป็นระบบ
ตอบ 1.ข้อมูลป้อนเข้า (Input) เริ่มจากการเลือกข้อมูล แนวทางในการเลือกสื่อการเรียนการสอนคือ เลือกสื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ให้เเหมาะสมกับลักษณะของผู้เรียนแต่ละวัย ให้เหมาะสมกับขนาดของผู้เรียน เป็นสื่อที่หาง่ายในท้องถิ่นหรือราคาเยา เป็นสื่อที่มีศักยภาพสูงเหมาะกับการเรียนรู้แต่ละด้าน และให้ความสะดวกในการใช้งาน ไม่ยุ่งยากสลับซับซ้อนจนเกินไป
2.กระบวนการ(Process) เมื่อเตรียมทุกอย่างตามแผนที่วางไว้อย่างมั่นใจ เป็นขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง ใช้ได้เหมาะสมกับเวลาไม่ช้าหรือรวดเร็วเกินไป ใม่ยืนบังสื่อในขณะใชประกอบการเรียนการสอน เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม ไม่ควรนำสื่อแสดงให้ผู้เรียนเห็นก่อนถึงเวลาใช้ เมื่อใช้เสร็จแล้วควรเก็บสื่อให้เรีบยร้อยทันที
3.ผลลัพธ์(Output) ได้แก่ ผลการเรียนรู้ที่ได้รับจาการป้อนข้อมูลและกระบวนการดังกล่าว ผลลัพธ์ที่ได้นี้ควรนำมาวิเคราะห์ว่าได้ผลดีเพียงใด ทำให้ผู้เรียน้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์หรือไม่
8. จงเขียนแบบจำลองการเก็บรักษาสื่อการสอนอย่างเป็นระบบ
ตอบ 1.ข้อมูลป้อนเข้า (Input) โดยการพิจารณาวิเคาระห์ปัญหา วัตถุประสงค์ ข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเก็บรักษา
2.การดำเนินการ (Process) ได้แก่ การวางแผนและดำเนินการเก็บสื่อการเรียนการสอนซึ่งอาจจำแนกตามรายวิชา จำแนกตามลักษณะของสื่อ จำแนกตามคุณสมบัติของสื่อ
3.ผลลัพธ์ (Output) เมื่อมีการดำเนินการเก็บรักาสื่อการเรียนการสอนตามแผนที่วางไว้เป็นอย่างดีแล้ว ทำให้สื่ออยู่ในสภาพดีสามารถเลือกใช้สื่อไปใช้ประกอบกิจกรรมการเรียนการสอนและนำกลับมาเก็บไว้ได้อย่างสะดวก นอกจากนี้หากพบข้อบกพร่องใดๆ ก็สามารถตรวจสอบและแก้ไขได้ถูกต้อง
9. ผลย้อนกลับในวิธีระบบคืออะไร และย้อนไปที่องค์ประกอบใด
ตอบ ผลย้อนกลับในวิธีระบบ คือ ผลที่ได้จากผลลัพธ์และสามารถย้อนกลับไปยัง Input Process Output ได้
จำนวนการดูหน้าเว็บรวม
ค้นหาบล็อกนี้
วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553
วันพุธที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2553
บทที่ 2 วิธีระบบ
...คำว่า "ระบบ" คือ กลุ่มขององค์การต่างๆ ที่ทำงานร่วมกันเพื่อจุดประสงค์อันเดียวกัน ระบบอาจจะประกอบด้วยบุคคลากร เครื่องมือ เครื่องใช้ พัสดุ วิธีการ ซึ่งทั้งหมดนี้จะต้องมีระบบจัดการอันหนึ่งเพื่อให้บรรลุจุดประสงค์อันเดียวกัน ตัวอย่างเช่น
ในร่างกายคนเราจะมีระบบในตัวคือมีความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่างสอง เส้นประสาท เซลล์รับรู้ความรู้สึก เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับรู้ความรู้สึกร้อนหนาว เป็นต้น
ในการใช้ภาษาก็ถือทำอย่างเป็นระบบนั่นระบบนั่นคือ ความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่าง การใช้คำสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการตีความให้เข้าใจภาษานั้นๆ
ในธุรกิจก็เป็นระบบอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบคือ การตลาด โรงงาน การขาย การค้นคว้า การขนส่ง การเงิน บุคคล การทำงาน โดยที่ทั้งหมดมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดกำไร
...คำว่า "วิธีระบบ" เป็นผลของการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ในร่างกายคนเราจะมีระบบในตัวคือมีความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่างสอง เส้นประสาท เซลล์รับรู้ความรู้สึก เพื่อบรรลุเป้าหมายในการรับรู้ความรู้สึกร้อนหนาว เป็นต้น
ในการใช้ภาษาก็ถือทำอย่างเป็นระบบนั่นระบบนั่นคือ ความสัมพันธ์ติดต่อกันระหว่าง การใช้คำสัญลักษณ์ต่างๆ เพื่อบรรลุเป้าหมายในการตีความให้เข้าใจภาษานั้นๆ
ในธุรกิจก็เป็นระบบอย่างหนึ่ง ซึ่งมีส่วนประกอบคือ การตลาด โรงงาน การขาย การค้นคว้า การขนส่ง การเงิน บุคคล การทำงาน โดยที่ทั้งหมดมีการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างกัน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายให้เกิดกำไร
...คำว่า "วิธีระบบ" เป็นผลของการรวมหน่วยย่อยๆ ซึ่งอิสระจากกันให้มีความสัมพันธ์กัน โดยการจัดระเบียบอย่างสร้างสรรค์เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)